Social Resilience, Psychological Resilience, and Community Resilience
แนวคิดการฟื้นคืนความเข้มแข็ง (Resilience) เป็นแนวคิดที่แพร่หลายในวิชาชีพที่ทำงานด้านสุขภาพจิต ขณะเดียวกัน แนวคิดการฟื้นคืนความเข้มแข็งทางสังคม (Social Resilience) เป็นแนวคิดในระดับชุมชนและระดับกำหนดนโยบายสังคมในประเด็นที่เกี่ยวกับพิบัติภัยที่ส่งผลกระทบกับกลุ่ม คนเปราะบางและกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงสุด ในช่วงเวลาที่ไวรัส COVID-19 ระบาดตั้งแต่ ปลายปี ค.ศ.2019 มีบทความวิจัยและบทความวิชาการจำนวนมากที่นำเสนอทั้งในเรื่องการฟื้นคืนความเข้มแข็งในมิติสุขภาพจิต การฟื้นคืนความเข้มแข็งในชุมชน (Community resilience) นอกจากนั้น นักวิชาการสังคมสงเคราะห์ยังได้นำแนวคิดการฟื้นคืนความเข้มแข็งมาใช้กับการนิเทศงานให้นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ ตลอดจนดูแลนักสังคมสงเคราะห์ที่มีปัญหาหมดไฟในการทำงาน (burn out) (Whitney, 2017). นักสังคมสงเคราะห์ไทยจะได้รับประโยชน์จากแนวคิดการฟื้นคืนความเข้มแข็งและการฟื้นคืนความเข้มแข็งทางสังคม ที่สามารถนำไปใช้ได้หลายระดับและหลายมิติ
-
สมาชิกสภา นักสังคมสงเคราะห์ และประชาชนทั่วไป
1. บทนำ
2. ความหมายและความหลากหลาย
3. การฟื้นคืนความเข้มแข็งทางจิตวิทยากับการฟื้นคืนความเข้มแข็งทางสังคม
4. แนวคิดการฟื้นคืนความเข้มแข็งชุมชน (Community Resilience)
5. รายงานเรื่อง Social resilience ของธนาคารโลก และ UN-HABITAT
6. บทวิเคราะห์
7. สรุป
8. รายการอ้างอิง
เขียนรีวิวสาธารณะ